ABOUT
สถาปนิก’67 สร้างการรับรู้ สื่อสาร และส่งต่อ ที่ไร้ขอบเขตผ่านการสัมผัสทางสถาปัตยกรรม
ด้วยแนวคิด Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
ในอดีตมนุษย์สามารถสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจ ผ่านการใช้ท่าทาง เช่น การชี้นิ้ว พยักหน้า หรือ
การโบกมือ จนพัฒนามาเป็นการเลียนเสียงธรรมชาติที่เกิดจากการได้ยิน เช่น เสียงฝน เสียงน้ำ เสียงร้องของสัตว์ต่างๆ เมื่อได้ยินก็เกิดความพยายามที่จะเลียนเสียงตาม รวมไปถึงการเปล่งเสียงจากอารมณ์และความรู้สึก ความเจ็บ หรือคำอุทานที่เปล่งออกมาโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงให้ผู้อื่นได้เข้าใจความรู้สึกและความต้องการของตนเอง กลายมาเป็นคำพูดหรือภาษาที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ หรือย้อนกลับไปเมื่อ 40,000 ปีก่อนคริสตศักราช มีการสื่อสารผ่านภาพวาดที่ใช้สีธรรมชาติ เช่น ถ่าน และเฮมาไทต์ ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นตามผนังและเพดานถ้ำ เพื่อเป็นการสื่อสารสร้างความรับรู้ทางพิธีกรรมแและความเชื่อทางศิลปวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้ถูกพัฒนากลายมาเป็นภาษาและศิลปะในเวลาต่อมา
โดยปัจจุบันพบว่ามีภาษามากกว่า 7,000 ภาษาทั่วโลกที่ถูกใช้ในการสื่อสาร ขณะที่ศิลปวัฒนธรรมของแต่ละชนชาตินั้นถือเป็นเครื่องมือสื่อสารอันทรงพลังในการสร้างความเข้าใจระหว่างผู้คนต่างชาติต่างภาษาผ่านการรับรู้ทางความรู้สึก
เมื่อมนุษย์มีวิวัฒนาการ การสื่อสาร ภาษา ศิลปวัฒนธรรม กลายเป็นสิ่งที่ไร้ขอบเขต เฉกเช่นงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบที่สามารถสื่อสาร ส่งต่อ และสัมผัสได้โดยผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก ‘Collective Langauge : สัมผัส สถาปัตย์’ คือแนวคิดหลักของงานสถาปนิก’67 ที่จะพาทุกคนไปสัมผัสงานออกแบบที่ไร้ขอบเขต พร้อมเชื่อมโยงผู้คนทั่วโลกในแวดวงสถาปัตยกรรมตลอดระยะเวลา 90 ปีของการก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่จะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว (movement) ที่ดีในอนาคตร่วมกัน ผ่านนิทรรศการและกิจกรรมสำคัญ ที่ประกอบไปด้วย
-
นิทรรศการหลัก ได้แก่
นิทรรศการธีมงาน Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
การสัมผัสซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรับรู้ของมนุษย์ผ่านทางความรู้สึกและถือเป็นวิธีการสื่อสารอีกวิธีหนึ่งของงานสถาปัตยกรรมที่มี ต่อผู้คนทั่วโลก โดยสถาปนิกสามารถสร้างความรู้สึกทางรูปธรรมอันหลากหลายผ่านการใช้วัสดุและกระตุ้นความรู้สึกของผู้คนผ่าน องค์ประกอบต่างๆ แบบนามธรรมในการรับรู้ถึงสถาปัตยกรรม นิทรรศการ Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์ จัดแสดงผลงานสถาปัตยกรรม จาก 12 สถาปนิกในเอเชีย นำเสนอกลุ่มภาษาที่ภัณฑารักษ์ถอดองค์ประกอบสถาปัตยกรรมเพื่อบอกเล่าถึงลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมในภูมิภาคเอเชีย และตั้งคำถามถึงภาษาอื่นๆ ในสถาปัตยกรรมที่จะกลายเป็นภาษากลางใช้ร่วมกันในอนาคต พร้อมทั้งการจัดแสดงผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมพันธมิตร 22 ชาติ รวมประเทศไทยใน The Architects Regional Council Asia (ARCASIA) รวมกันเป็นกลุ่มภาษาที่ถอดจากองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมเพื่อสื่อสารถึงทิศทางของภูมิภาคในอนาคต
นิทรรศการ ASA All Member
มุ่งหวังให้ผู้เข้าชมนิทรรศการที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมออกแบบและบุคคลทั่วไป ได้ร่วมสัมผัส ‘วิชาชีพ’ ผ่านนิทรรศการ ASA All Member : The Collective Practices ที่ไม่เพียงจัดแสดงแค่ผลงานของสมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ สมาคมมัณฑนากรฯ สมาคมภูมิสถาปนิกฯ และสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทยเพียงอย่างเดียว แต่ยังเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าไปร่วมสัมผัสวัฒนธรรมองค์กรและเบื้องหลังการทำงาน ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานทางสถาปัตยกรรม และในปีนี้ สมาคมสถาปนิกสยามฯ ครบรอบ 90 ปี จึงมีความพิเศษในนิทรรศการให้ผู้เข้าชมได้สัมผัส ร่วมคิด ต่อยอด และตั้งคำถามถึงบทความของสถาปนิกร่วมกันในอนาคต
Collective Experience
เป็นกิจกรรมที่ต่อยอดจาก Human Library ที่จัดไปเมื่องานสถาปนิก’66 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นกิจกรรมถ่ายทอดประสบการณ์ และเรื่องราวตามความถนัดของท่าน ผ่านการบอกเล่า และพูดคุยอย่างใกล้ชิดเป็นกันเอง (Sensory Intimacy) ที่ถูกรวบรวมและตกผลึกผ่านประสบการณ์และความสนใจของผู้บรรยายทั้งชาวไทยและต่างชาติที่จะมาแบ่งปันเรื่องราวของพวกเขาสู่สาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้คนร่วมสังคมโดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติและภาษา ซึ่งจะถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ของแต่ละคน รวมทั้งแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และประสบการณ์ร่วมกัน
นิทรรศการ สมาคมมัณฑนากร แห่งประเทศไทย : TIDA
-
TIDA Salone พื้นที่สร้างสรรค์ที่ทาต่อเนื่องมากว่า 10 ปี นิทรรศการการออกแบบเชิงทดลองจากเหล่านักออกแบบภายในมีชื่อในบ้านเรา มาช่วยรังสรรค์งานใหม่ๆโดยร่วมกับผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายในต่างๆให้เกิดเป็นงานออกแบบแนวใหม่ที่คานึงถึงโลกในอนาคตตลอดจนความเป็นอยู่สมัยใหม่
-
TIDA Society โซนพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ใหม่ๆด้านการตกแต่งภายในในชื่อว่า TIDA Club ชุมชนนักออกแบบสร้างสรรค์พลังความคิดใหม่ๆ และ TIDA Night งานเลี้ยงสังสรรค์ประจาปีของชาวมัณฑนากรและนักออกแบบต่างๆของไทยในรูปแบบคอนเซปต์งานที่ไม่เคยซ้าซากจาเจมาตลอดหลายสิบปี
-
TIDA Exhibition นิทรรศการแสดงผลงานการประกวดเวทีต่างๆที่ TIDA จัดขึ้นเป็นประจาเพื่อส่งเสริมคุณภาพงานคุณภาพวิชาชีพทั้ง TIDA Award และ TIDA Thesis Award
-
TIDA Lounge พื้นที่เฉพาะสมาชิกสมาคมฯ พร้อมศูนย์บริการรับสมัครสมาชิกใหม่ บริการให้ข้อมูลสมาคมฯ การให้คาปรึกษาด้านใบประกอบวิชาชีพ และร้านขายของที่ระลึก
นิทรรศการและพื้นที่สัมมนาวิชาการ “TALA Collective experience”
-
นิทรรศการและพื้นที่สัมมนาวิชาการ “TALA Collective experience” เพื่อจัดให้มีการร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานภูมิสถาปัตยกรรมที่มีภาษากลางร่วมกันของภูมิภาคต่างๆ อาทิ โครงการในบริบทที่แตกต่างกันแต่มีภาษาที่เชื่อมต่อกัน, งานภูมิสถาปัตยกรรมในต่างประเทศ และภูมิภาค, ซึ่งจะเป็นงานเสวนา วิชาชีพและการถ่ายทอดประสบการณ์จากภูมิสถาปนิกที่มีประสบการณ์ในภูมิภาคเอเซีย
-
พื้นที่จัดแสดงธีมงานภูมิสถาปัตยกรรม “GREEN SEEDLING: Towards Carbon neutral” แสดงนิทรรศการแบบมีส่วนร่วมกับผู้เข้าชม เพื่อสื่อถึงความสำคัญของพื้นที่สีเขียวที่มีคุณภาพที่มีส่วนสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม ของโลกที่เราอาศัยอยู่ร่วมกัน
-
พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ “TALA PARK NETWORK MAP” เพื่อจัดแสดงแผนที่ความสัมพันธ์ของโครงสร้างพื้นที่สีเขียวสาธารณะในเมืองกรุงเทพมหานคร ณ ปัจจุบัน และ/หรือ อนาคต ทั้งโครงการสวน15 นาทีและโครงการพื้นที่สาธารณะอื่นๆ
-
“TALA’s Collective Lounge” จุดรวมพล จุดพักผ่อน และนัดพบพูดคุย อย่างไม่เป็นทางการของสมาชิก
-
“TALA AWARDS” พื้นที่แสดงผลงานออกแบบที่ได้รับรางวัล TALA Awards แต่ละประเภทงาน
นิทรรศการ สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย : TUDA
-
TUDA EXHIBITION or TUDA and Friends การจัดแสดงงานของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองทั่วประเทศที่ร่วมกับสมาคมฯ รวมถึงผลงานกรรมาธิการสถาปนิกผังเมืองภูมิภาค
-
TUDA (วิชาชีพ) การจัดแสดงงานของบริษัทผู้ประกอบวิชาชีพที่มีผลงานโดดเด่น ด้านการออกแบบและพัฒนาเมือง
-
TUDA (วิชาการ) การจัดแสดงผลงานวิทยานิพนธ์ และผลงานออกแบบและการศึกษาวิจัยจากสถาบันการศึกษา
-
TUDA REGISTER & TUDA SHOP จุดลงทะเบียน สมัครสมาชิก แจกของที่ระลึก และจุดจำหน่ายสินค้าสมาคมฯ
-
TUDA (ชิว) พื้นที่ให้สมาชิกได้พัก นั่งพูดคุย
2. นิทรรศการวิชาการ ประกอบด้วยนิทรรศการวิชาการ ได้แก่
นิทรรศการประกวดแบบเชิงแนวความคิด (ASA Experimental Design Competition)
การแสดงผลงานการประกวดแบบในระดับนานาชาติ ที่เปิดให้สมาชิกสมาคมฯ นิสิต-นักศึกษา และผู้สนใจเข้าร่วมส่งผลงาน หาแนวทางความคิดสร้างสรรค์และผลงานออกแบบที่ไม่จำกัดพื้นที่ตั้งและขนาด โดยปีนี้ ใช้กรุงเทพมหานครเป็นกรณีศึกษา เพื่อหาความเหมือนที่แตกต่าง ตอบโจทย์ความรู้สึกของผู้คนกับตัวเมือง ผ่านคำจำกัดความว่า ‘สัมผัส’
3. นิทรรศการ สมาคม วิชาชีพ วิชาการ ได้แก่
-
นิทรรศการรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2567
-
นิทรรศการรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2567
-
นิทรรศการ VERNADOC
-
นิทรรศการผลงานนักศึกษา/สถาบันการศึกษา
4. พื้นที่กิจกรรมและบริการ ได้แก่
-
ASA Club - พื้นที่พบปะ และจุดพักผ่อนประจำของชาวอาษา
-
ASA Night 2024 – กิจกรรมสังสรรค์พบปะตามประเพณีของเหล่าสมาชิกอาษา
-
สถาปนิกอาสา – พื้นที่สถาปนิกอาสา บริการให้คำปรึกษาเรื่องต่างๆ ในงานสถาปัตยกรรม
-
ACT Shop - พื้นที่จำหน่ายหนังสือและของที่ระลึกของสภาสถาปนิก
-
ASA Shop - พื้นที่จำหน่ายหนังสือและของที่ระลึกของสมาคมฯ
-
ASA Book Shop - พื้นที่จัดจำหน่ายหนังสือจากสถาบันการศึกษาและองค์กรทางด้านสถาปัตยกรรม
5. งานสัมมนาวิชาการ
ASA International Forum 2024
งานสัมมนาวิชาการ แลกเปลี่ยนความรู้ในงานออกแบบและข้อมูลทางเทคนิคในการประกอบวิชาชีพ โดยนักออกแบบและผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมจากต่างประเทศ ซึ่งมีประเด็นหัวข้อในการเสวนาที่น่าสนใจ ภายใต้ธีม ‘COLLECTIVE LANGUAGE: Critical Regionalism in Architecture’ ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการสัมมนาแบบ on site
Professional Seminar 2024
งานสัมมนาจากผู้เชี่ยวชาญในไทยของแต่ละสาขาวิชา ที่จะให้ประโยชน์แก่การประกอบวิชาชีพของสถาปนิกในปัจจุบัน ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการสัมมนาแบบ on site
ร่วมสื่อสาร รับรู้ ส่งต่อ ผ่านการสัมผัสไปด้วยกันในงานสถาปนิก’67
ภายใต้แนวคิด Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 5 พฤษภาคม 2567
ณ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ 1-3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี