โครงการปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรมระดับนิสิตนักศึกษา 65
(ASA Architectural Design Student Workshop ’22)
“พี่งพา-อาศัย: CO - with CREATORs”
ความเป็นมาโครงการ
โครงการปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรม (Architectural Design Student Workshop) เป็นกิจกรรมสำหรับนิสิต นักศึกษา และคณาจารย์จากสถาบันการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมทั่วประเทศ จำนวน 37 สถาบัน และเป็นกิจกรรมหนึ่งของงานสถาปนิกประจำปี มีการดำเนินงานต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และมีลักษณะการดำเนินงานเป็นการเข้าปฏิบัติงานร่วมกันออกแบบ โดยเนื่องจากในปีนี้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) จึงมีการกำหนดให้ดำเนินการปฏิบัติการในรูปแบบ Online (Stage1) ร่วมกับการปฏิบัติการในรูปแบบ On-site (Stage2) ในกรณีที่สถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวคลี่คลาย ทั้งนี้จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงเป็นที่มาของรูปแบบในการจัดโครงการปฏิบัติการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ในแนวคิด “พึ่งพา-อาศัย : CO - with CREATORs” ที่บอกเล่าถึงแนวความคิด วิธีการจัดการ อย่างสร้างสรรค์ร่วมกันระหว่างนิสิต/นักศึกษาต่างสถาบัน และผู้ร่วมสร้างสรรค์ที่ผ่านการคัดเลือกให้มาร่วมปฏิบัติการ
หลักการและเหตุผล
จากแนวความคิดหลักของการจัดงานสถาปนิกในปี 2565 “พึ่งพา-อาศัย : CO - with CREATORs” โดยเน้นในเรื่องของกระบวนการทำงานออกแบบในลักษณะ “การสร้างสรรค์ร่วมกัน” (Co-Create) ของกลุ่มคนต่างสาขาอาชีพมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การทำงานร่วมกันระหว่างสถาปนิกกับภูมิสถาปนิก ศิลปิน นักออกแบบแสง แฟชั่นดีไซเนอร์ ช่างภาพ หรือนักออกแบบสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผลลัพธ์ของงานสถาปัตยกรรมมีมุมมองที่หลากหลายจากไอเดียที่แตกต่าง นอกจากนั้น งานสถาปนิก ’65 ยังเป็นเวทีสำหรับการตั้งคำถามและการค้นหาคำตอบถึงการพึ่งพาอาศัยระหว่างสถาปนิกและนักสร้างสรรค์ (ที่อาจจะไม่ใช่นักออกแบบ) ในสาขาอื่น ๆ เพื่อพึ่งพาศักยภาพของกันและกัน เช่น หมอ นักพัฒนาซอฟท์แวร์ พ่อครัว เกษตรกร นักบินอวกาศ นักชีววิทยา พระสงฆ์ ฯลฯ เพื่อแสดงให้เห็นว่าการออกแบบร่วมกันโดยปรับเปลี่ยนคุณลักษณะหรือวิธีการทำงานบางประการของแต่ละวิชาชีพ จะเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันได้อย่างไรบ้าง
ด้วยเหตุนี้ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการในปีนี้จึงนำแนวคิดของการจัดงานมาใช้เป็นแนวทางดำเนินงานโครงการฯ โดยกำหนดให้นิสิต/นักนักศึกษาต่างสถาบันร่วมกำหนดกระบวนการทางความคิด เสนอเป้าหมาย เสนอแนวทางในการปฏิบัติงาน และเพื่อให้สัมพันธ์กับแนวคิดในการจัดงาน “พึ่งพา-อาศัย : CO - with CREATORs” โดยให้ผู้เข้าร่วมปฏิบัติงานกำหนดตัวตนของบุคคลผู้ร่วมสร้างสรรค์ตามเป้าหมายของแต่ละกลุ่มปฏิบัติงาน ทั้งนี้ในช่วงแรกเป็นการปฏิบัติงานร่วมกันในรูปแบบ Online (Stage1) ผู้ร่วมสร้างสรรค์แต่ละกลุ่มจะทำงานร่วมกันกับอาจารย์ประจำกลุ่มที่ทางโครงการจัดหาให้ ซึ่งจะมีการนำเสนอผลงานระหว่างช่วงการดำเนินงานนี้ 2 ครั้ง ผ่านสื่อสังคม Online เพื่อให้บุคคลภายนอกแสดงความคิดเห็นและเกิดการรับรู้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในวงกว้าง และการดำเนินงานในช่วงที่ 2 (Stage2) จะเป็นการทำงานร่วมกัน ณ สถานที่ที่กำหนด (กรุงเทพมหานครฯ สถานที่โครงการจะแจ้งระหว่างการปฏิบัติงาน) ในขั้นตอนนี้ผู้ร่วมสร้างสรรค์จะผลิตผลงานร่วมกันเพื่อนำเสนอในงานสถาปนิก ณ อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีระยะเวลาในการผลิตผลงาน 3 วัน
การปฏิบัติงานในครั้งนี้ นอกจากนิสิต/นักศึกษาจะได้เรียนรู้การปฏิบัติงานร่วมกันตามแนวคิด “พึ่งพา-อาศัย : CO - with CREATORs” แล้วนั้น ระหว่างกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน ตลอดจนการปฏิบัติงาน จะได้มีการถ่ายทอดในรูปแบบ Online ผ่านสื่อของการจัดงาน เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมรับรู้และเรียนรู้ร่วมกัน
ผู้รับผิดชอบโครงการ
อาจารย์ ทรงพจน์ สายสืบ
คณะทำงานโครงการฯ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐพงษ์ อังกสิทธิ์
คณะทำงานโครงการฯ
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนิสิต/นักศึกษาต่างสถาบัน ผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน สังคมในวงกว้าง
2. เพื่อสร้างปรากฏการณ์ทางความคิด และประสบการณ์ของผู้ร่วมสร้างสรรค์
3. เพื่อเป็นการฝึกการทำงานร่วมกันให้แก่นิสิต นักศึกษา และคณาจารย์จาก 37 สถาบันการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม ให้เกิดจิตอาสาสาธารณะและได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคม
4. เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกในด้านการมีส่วนร่วมและการจัดการต่อสภาพสังคมในปัจจุบันภายในแนวคิดการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์
ผู้เข้าร่วมโครงการ 98 คน
1. ตัวแทน นิสิต นักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในระดับชั้นปีที่ 3-4 จากสถาบันการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมทั่วประเทศจำนวน 37 สถาบันการศึกษา สถาบันละ 2 คน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 74 คนโดยประมาณ
2. อาจารย์ผู้ประสานงาน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม
3. อาจารย์ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน จำนวน 12 คน
4. ผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานประจำกลุ่มปฏิบัติงาน 12 คน
กำหนดการและสถานที่
ตอบรับการเข้าร่วมการปฏิบัติงาน Workshop ภายในวันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565
การปฏิบัติงานในช่วงที่ 1 ระหว่างวันอังคารที่ 1 มีนาคม – วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565 รวม 25 วัน
รับฟังแนวความคิดในการปฏิบัติงานร่วมกัน
กำหนดเป้าหมายในการสร้างสรรค์ผลงาน
กำหนดผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานในแต่ละกลุ่ม
นำเสนอผลงานครั้งที่ 1 ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของการจัดงาน วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2565
นำเสนอผลงานครั้งที่ 2 ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของการจัดงาน วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565
การปฏิบัติงานในช่วงที่ 2 ระหว่างวันเสาร์ที่ 26 มีนาคม – วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม 2565 รวม 25 วัน
การทำงานร่วมกัน ณ สถานที่ที่กำหนด (กรุงเทพมหานครฯ สถานที่โครงการจะแจ้งระหว่างการปฏิบัติงาน) ในขั้นตอนนี้ผู้ร่วมสร้างสรรค์จะผลิตผลงานร่วมกันเพื่อนำเสนอในงานสถาปนิก’65 โดยมีระยะเวลาผลิตผลงาน 3 วัน และเข้าติดตั้งผลงานนิทรรศการ ณ อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี
ที่ปรึกษาโครงการและผู้ทรงคุณวุฒิ
1. อาจารย์ รุจ รัตนพาหุ
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณธทัย จันเสน
สาขาสถาปัตยกรรม ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
3. อาจารย์ ณัฐภูมิ รับคำอินทร์
สาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกวิทยาเขตอุเทนถวาย
4. อาจารย์ ภัทฐิตา พงศ์ธนา
สาขาสถาปัตยกรรม วิทยาลัยสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฏฐพงศ์ จันทร์วัฒนะ
สาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงษ์ อังกสิทธิ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7. อาจารย์ ทรงพจน์ สายสืบ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร
8. อาจารย์ ภูริน หล้าเตจา
คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
9. อาจารย์ นพดล คล้ายวิเศษ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
10. อาจารย์ อัศวิน ไทรสาคร
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา
11. อาจารย์ ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
12. อาจารย์ ดร.สริน พินิจ
ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
13. อาจารย์ สุพิชฌาย์ เกาศัลย์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
นิสิต/นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา Workshop เป็นผู้ออกแบบเนื้อหา และ จัดส่งไฟล์ให้ทางสมาคม โดยผ่านช่องทาง Email: info.asaworkshop2022@gmail.com ซึ่งนิสิต/นักศึกษาต้องนำเสนอในรูปแบบ ดังนี้
1.การนำเสนอผลงานในรูปแบบ Video : รายละเอียด ดังนี้
1.1 จัดทำผลงาน Video ความยาวไม่เกิน 2 นาที แสดงออกถึงความเป็นตัวตนของตัวเองตามที่เลือกไว้ในแบบตอบรับ โดยอาจจัดทำแบบง่ายๆ ด้วยกล้องวีดีโอ กล้องโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
1.2 บันทึกในรูปแบบ .MP4 ขนาดไฟล์ไม่เกิน 200 Mb
1.3 จัดทำเป็น ratio 16:9 (resolution 1920×1080p) แนวนอน
1.4 กำหนดให้ตั้งชื่อไฟล์ตามรูปแบบ ดังนี้
“ลำดับ_ชื่อสถาบัน_จังหวัด_ชื่อผลงาน”
เช่น “01_ASA_Bankok_Co-With CREATORs”
1.5 ขอให้นำส่งผลงานผ่านช่องทาง Google Drive ออนไลน์ และส่ง Link การแชร์ไฟล์มาที่
E-mail: info.asaworkshop2022@gmail.com
ภายในวันที่ .......................................
คู่มือรายละเอียดการนำส่งผลงาน โครงการปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรม ASA Architectural Design Student Workshop รูปแบบ Video
สถาปนิก’65
ในระหว่างวันที่ 26 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2565
ภายใต้แนวคิด “พี่งพา-อาศัย: CO - with CREATORs”
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Line Open Chat account ASA’65 Workshop
E-mail: info.asaworkshop2022@gmail.com
หรือ ติดต่อที่เบอร์ 091-981-4666