
นิทรรศการ ทบทวน ทิศทาง : Past Present Perfect
นิทรรศการทบทวน ทิศทาง ถือเป็นนิทรรศการหลักและเป็นส่วนสำคัญที่แสดงผลลัพธ์จาก Student Workshop โดยนำเสนอผลงาน
ของนักศึกษาในรูปแบบที่ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการคิด กระบวนการออกแบบ การสัมผัสประสบการณ์ในมิติต่างๆ ของงาน
สถาปัตยกรรม จนไปถึงโมเดลต้นแบบของผลงานที่ออกแบบใหม่ นิทรรศการนี้จะช่วยถ่ายทอดเรื่องราวของสถาปัตยกรรมไทยในอดีตที่
ถูกตีความใหม่ในปัจจุบัน และสะท้อนถึงบทบาทของสถาปนิกในยุคปัจจุบันที่ต้องผสานความรู้และความสร้างสรรค์เพื่อมุ่งสู่อนาคตอย่าง
ยั่งยืน
ทั้งสองส่วนจะทำให้งานสถาปนิก’68 เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ การแบ่งปัน และการเชื่อมโยงความรู้ระหว่างรุ่น พร้อมสร้างแรงบันดาลใจ
ในการพัฒนาทิศทางใหม่ของสถาปัตยกรรมไทยในอนาคต
ASA Student Workshop 2025
โครงการปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรมระดับนิสิตนักศึกษา
ภายใต้แนวคิด
ทบทวน ทิศทาง: Past Present Perfect

หลักการและเหตุผล
ASA Student Workshop 2025 เป็น โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ที่จัดโดย สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ASA) โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะด้านการออกแบบให้แก่นักศึกษาสถาปัตยกรรม ผ่านการเรียนรู้เชิงลึกเกี่ยวกับ คุณค่าของสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัยที่มีคุณค่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ภายใต้แนวคิด "ทบทวน ทิศทาง: Past Present Perfect" กิจกรรมนี้เปิดโอกาสให้นักศึกษาจากโรงเรียนสถาปัตยกรรมจากทั่วประเทศเข้าร่วม โดยจะมีการศึกษา สำรวจและวิเคราะห์สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัยที่มีคุณค่า ผ่านกรณีศึกษา 8 อาคารสำคัญ อาทิเช่น อาคารกาดวโรรส (เชียงใหม่), ตึกหุ่นยนต์ (กรุงเทพฯ), อาคารคุรุสัมมนาคาร (นครราชสีมา) และอาคารฟักทอง (ภาคใต้) เป็นต้น
โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการนี้จะมุ่งเน้นการศึกษาในด้านคุณค่าและคุณภาพของงานสถาปัตยกรรม อาทิเช่นของคุณภาพของพื้นที่ว่างและความงามของภาษาทางสถาปัตยกรรม นำมาผ่านการตีความและทดลองออกแบบ สร้างแนวทางการพัฒนาสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัยในบริบทใหม่ กิจกรรมในโครงการประกอบด้วย กิจกรรมภาคสนาม การทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อนๆนิสิต นักศึกษาคณาจารย์และสถาปนิกวิชาชีพ, และการออกแบบสถาปัตยกรรมต้นแบบ เพื่อนำเสนอแนวคิดใหม่ที่สะท้อนคุณค่าของอดีต ปรับตัวเข้ากับปัจจุบัน และสามารถตอบสนองบริบทของอนาคตได้อย่างเหมาะสม
สมาคมฯ ขอเชิญชวนนักศึกษาสถาปัตยกรรมเข้าร่วม ASA Student Workshop 2025 เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์และกำหนดทิศทางใหม่ของสถาปัตยกรรมไทย ผ่าน การคิด วิเคราะห์ และออกแบบ เพื่อสร้างผลงานที่สามารถสื่อสารคุณค่าและตอบโจทย์อนาคตได้อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างกระบวนการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย และบทบาทของพื้นที่ จากมุมมองนักศึกษาสถาปัตยกรรม
เพื่อนำเสนอแนวคิด รายละเอียดโครงการและผลงานออกแบบ นำไปสู่กระบวนการพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
เพื่อเป็นการฝึกการทำงานร่วมกันให้แก่นิสิต นักศึกษา และคณาจารย์จาก 37 สถาบันการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม ให้เกิดจิตอาสาสาธารณะและได้ออกแบบเชิงเศษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสังคม
เพื่อฝึกปฏิบัติ การผสมผสานเรื่องการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน กับเทคโนโลยีต่างๆที่เกี่ยวข้อง ฝึกการศึกษาดูงานด้านต่าง ๆ ฝึกการออกแบบและฝึก ฝึกระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการในภาคส่วนต่าง ๆ รวบรวมเสนอแนะประเด็นปัญหาด้านต่าง ๆในเชิงวิชาการ เพื่อร่วมกันหาแนวทางการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอันเกิดขึ้นจากการพัฒนา
เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกในด้าน การออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เผยแพร่องค์ความรู้แลกเปลี่ยนความคิดสู่สังคม มุ่งหวังให้เกิดการตระหนักให้ทราบถึงปัญหาของสิ่งแวดล้อม เล็งเห็นในคุณค่าของการออกแบบกับบริบทและภาษาของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เป็นการสร้างรากฐานสู่สังคมแห่งการเรียนรู้แบบโครงข่ายให้ยั่งยืน เป็นแนวทางสู่การนำไปปฏิบัติต่อไป
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐพงษ์ อังกสิทธิ์
หัวหน้าคณะทำงานโครงการฯ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณธทัย จันเสน
คณะทำงานโครงการฯ
ผู้เข้าร่วมโครงการ 86 คน
1. ตัวแทน นิสิต นักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในระดับชั้นปีที่ 3-4 จากสถาบันการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมทั่วประเทศจำนวน 37สถาบันการศึกษา สถาบันละ 2 คน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 60-74 คนโดยประมาณ
2. ตัวแทนอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม จำนวน 10-12 คน
ขั้นตอนการปฏิบัติโครงการ กำหนดการและสถานที่
ระยะที่ 1 ระหว่างวันพุธที่ 26 – วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2568 รวม 4 วัน
เข้ากลุ่ม ฟังบรรยายจากคณาจารย์ พบอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อรับ Brief Workshop ผ่านระบบ Zoom
ระยะที่ 2 ระหว่างศุกร์ที่ 4 – วันจันทร์ที่ 7 เมษายน 2568 รวม 4 วัน
ลงพื้นที่บริเวณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อศึกษาดูงานอาคารสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัยและฝึกปฏิบัติงานออกแบบ
เข้าปฏิบัติงาน ออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมในรูปแบบ Hackathon และจัดทำเพลทผลงานนิทรรศการ ณ จัดทำเพลทผลงานนิทรรศการ ณ ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
กำหนดการในระยะที่ 2
ศุกร์ที่ 4 เมษายน 2568
10.00 น. ตัวแทนนักศึกษาและคณาจารย์จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆทั่วประเทศพร้อมกันที่จุดนัดพบ ณ ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเพื่อรับ ลงทะเบียน และรับ Workshop Package
11.30 น. นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ กล่าวต้อนรับ หัวหน้าคณะทํางาน กล่าวชี้แจง ความเป็นมาและรูปแบบการทํางาน โดยแบ่งกลุ่มทํางานเป็น 8 กลุ่ม : มีนักศึกษา 8 คน อาจารย์ 2 คน โดยประมาณ และอธิบายโจทย์การทํางาน)
13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ร่วมกัน
14.00 น ออกเดินทางไปยังพื้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อศึกษาดูงานอาคารสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย
14.45 น. แยกย้ายเก็บข้อมูลตามกลุ่มการทํางาน
16.00 น. พร้อมกันที่ทำงาน เพื่อเข้ากลุ่มกับอาจารย์ที่ปรึกษา
18.30 น. อาหารเย็น ตามอัธยาศัย
20.30 น. นักศึกษาเข้าที่พัก
วันเสาร์ ที่ 5 มีนาคม 2568
09.00 น. อาหารเช้า ณ ที่พัก
09.30 น. นักศึกษาทํางานเป็นกลุ่มโดย สามารถทํางานที่ห้องทำงาน ณ ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมฯ และแบ่งสมาชิกไปยังที่ตั้งโครงการ เพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติม
12.00 น. อาหารกลางวันตามอิสระ
13.30 น. พร้อมกันที่ห้องทำงาน เพื่อนําเสนอ Conceptual Idea แก่คณาจารย์ที่ปรึกษารวม
15.30 น. แยกย้ายกันทํางานตามกลุ่ม
18.00 น. อาหารเย็น ตามอัธยาศัย
19.30 น. พร้อมกันที่ทำงาน เข้ากลุ่มกับอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อพัฒนา Design Development
20.30 น. แยกย้ายกันทํางานอิสระตามกลุ่ม
วันอาทิตย์ ที่ 6 มีนาคม 2568
09.00 น. อาหารเช้า ณ ที่พัก
09.30 น. พร้อมกันที่ห้องทำงาน เพื่อนําเสนอ Design Development แก่คณาจารย์ที่ปรึกษารวม
12.00 น. อาหารกลางวันตามอิสระ
13.00 น. พร้อมกันที่ทำงาน เข้ากลุ่มกับอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อสรุปการออกแบบ และจัดทำ Final Design พร้อมจัดทําเพลท นําเสนอเพื่อเตรียมนําเสนอชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนจากสมาคม สถาปนิกสยาม และประชาชนผู้สนใจทั่วไปในงานสถาปนิก’68
18.00 น. อาหารเย็น ตามอัธยาศัย
วันจันทร์ ที่ 7 มีนาคม 2567
09.00 น. อาหารเช้า ณ ที่พัก
09.30 น. นักศึกษาแต่ละกลุ่มส่งผลงานพร้อมนําเสนอ Final Design แก่คณาจารย์ที่ปรึกษารวม
11.45 น. หัวหน้าคณะฯทํางาน สรุปผลการออกแบบ
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
13.00 น. ตัวแทนคณะทํางานจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศเดินทางกลับ จบการดําเนินกิจกรรมในระยะที่ 2
กำหนดการระยะที่ 3 วันจันทร์ ที่ 28 เมษายน รวม 1 วัน
เข้าติดตั้งผลงานนิทรรศการ ณ อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี
ระยะที่ 4 วันอังคาร ที่ 29 เมษายน – วันอาทิตย์ ที่ 4 พฤษภาคม 2568 รวม 6 วัน
นำเสนอผลการทำงานและเข้าร่วมงานสถาปนิก 62 ณ อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี
ที่ปรึกษาโครงการและผู้ทรงคุณวุฒิ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงษ์ อังกสิทธิ์
หัวหน้าคณะทำงานโครงการฯ/ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณธทัย จันเสน
ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
อาจารย์ ทรงพจน์ สายสืบ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
อาจารย์ สุพิชฌาย์ เกาศัลย์
คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (ศาลายา)
อาจารย์ ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์
คณะสถาปัตยศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต
อาจารย์ รุจ รัตนพาหุ
คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี
อาจารย์ ดร.สรรพวัฒน์ จตุพัฒน์วรางกูร
คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขต สุวรรณภูมิ
อาจารย์ ธนัฐวัสส์ วงศ์ทิมารัตน์
คณะสถาปัตยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
อาจารย์ กนกวรรณ พิทักษ์สมุทร
คณะสถาปัตยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
อาจารย์ ดร. สริน พินิจ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์ ดร. สาโรจน์ พระวงค์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภดารี กิตติวัฒนวณิช
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ผศ.ดร.ณัฏฐพงศ์ จันทร์วัฒนะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ดร.พลพัฒน์ นิลอุบล
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
อาจารย์ อัศวิน ไทรสาคร
คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (ศาลายา)