top of page

COLLECTIVE LANGUAGE




นิทรรศการธีมงาน Collective Language - Asian Contemporary Architecture Exhibition

Principal Curator: เจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung)

Executive Curator: นาดา อินทพันธ์


นิทรรศการ THEME: COLLECTIVE LANGUAGE

มีจุดประสงค์ให้ผู้เข้าชมนิทรรศการทั้งผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมการออกแบบสถาปัตยกรรม และบุคคลทั่วไปสัมผัสภาษาในรูปแบบ “ภาษาสถาปัตยกรรม” เพื่อให้เข้าใจถึงลักษณะองค์ประกอบสถาปัตยกรรมร่วมสําคัญในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเนื้อหาถูกจัดแสดงผ่าน 12 ผลงานที่มีที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชีย และจากสมาคมพันธมิตร 21 ประเทศใน The Architects Regional Council Asia (ARCASIA)

โดยรวบรวมนําเสนอออกเป็น 2 ส่วน

  • จัดแสดงผลงานสถาปัตยกรรม จาก 12 สถาปนิกในเอเชีย นําเสนอกลุ่มภาษาที่ภัณฑารักษ์หลัก เจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และนาดา อินทพันธ์ ถอดองค์ประกอบสถาปัตยกรรมเพื่อบอกเล่าถึงลักษณะสําคัญของสถาปัตยกรรมในภูมิภาคเอเชียนี้ และนําไปสู่การตั้งคําถามถึงภาษาอื่นๆ ในสถาปัตยกรรมที่จะกลายเป็นภาษากลางที่ใช้ร่วมกันในอนาคต

  • ร่วมกับการจัดแสดงผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมพันธมิตร 21 ประเทศใน The Architects Regional Council Asia (ARCASIA) รวมกันเป็นกลุ่มภาษาที่ถอดจากองค์ประกอบของสถาปัตยกรรม เพื่อสื่อสารถึงทิศทางของภูมิภาคใน อนาคตเช่นกัน


นิทรรศการ THEME: COLLECTIVE LANGUAGE ถ่ายทอดอัตลักษณ์ร่วมทางภาษาสถาปัตยกรรมในภูมิภาคเอเชียที่มีความหลากหลาย ผ่านตัวอย่างผลงานของ 12 สถาปนิก มีมิติทางภาษาที่เชื่อมโยงกัน แต่อาจมีวัตถุประสงค์การสื่อสารที่แตกต่าง โดยทางภัณฑารักษ์ถอดการแบ่งกลุ่มภาษาร่วมออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้


SHADING

กลุ่มภาษาสถาปัตยกรรมที่มีองค์ประกอบหลักสะท้อนถึงเรื่องสภาพเศรษฐกิจ บริบทของเมือง สภาพภูมิประเทศสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อน ซึ่งมีอิทธิพลแตกต่างกันไป สถาปัตยกรรมจึงมีส่วนช่วยปรับตัวให้ผู้ใช้อาคารเข้ากับการเปลี่ยนแปลงด้วยนวัตกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น สื่อสารผ่านหน้ากากอาคาร (SCREEN) ระบบควบคุมการหมุนเวียนการควบคุมอากาศ (THERMAL COMFORT) สร้างระบบนิเวศโอบอุ้มเพื่อปรับสภาพสิ่งมีชีวิตภายในให้เข้ากับของอาคาร (FOSTERING RESILIENCE) และสามารถอยู่ร่วมกับความเปลี่ยนแปลงภายนอกจนเกิดภาวะอยู่สบาย


  • Lilava Lalbhai Library ออกแบบโดย RMA Architects ผลงานจากประเทศอินเดีย สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2017

  • Nurse Dormitory Chulalongkorn Memorial Hospital ออกแบบโดย Plan Architect ผลงานจากประเทศไทย สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2021

  • Kampung Admiralty ออกแบบโดย WOHA ผลงานจากประเทศสิงคโปร์ สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2017

  • Urban Farming Office ออกแบบโดย VTN Architects ผลงานจากประเทศเวียดนามสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2022


HUMANITY

กลุ่มภาษาสถาปัตยกรรมที่มีองค์ประกอบหลักสะท้อนถึงแนวความคิดภาพรวม และวัตถุประสงค์การใช้งานของพื้นที่สถาปัตยกรรมทํางานผ่านองค์ประกอบจากความนึกคิดของผู้ออกแบบ ด้วยการสร้างมาตรส่วน (SCALE) รูปทรง ทําให้เกิดการแบ่งขนาดของพื้นที่จนเกิดปริมาตร (VOLUME) และการใช้ผิวสัมผัสของวัสดุที่แตกต่างกัน (CONTRAST)กระตุ้นการรับรู้ของผู้ใช้พื้นที่ให้แยกแยะความแตกต่างระหว่างมิติพื้นที่ที่หลากหลาย

  • The New Tsuruoka Cultural Hall ออกแบบโดย SANAA ผลงานจากประเทศญี่ปุ่ น สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2017

  • Space K Seoul ออกแบบโดย Mass Studies ผลงานจากประเทศเกาหลีใต้ สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2020

  • Machine House ออกแบบโดย Small Project ผลงานจากประเทศมาเลเซีย สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2019

  • Santani Wellness Resort and Spa ออกแบบโดย Thisara Thanapathy Architects ผลงานจากประเทศศรีลังกา สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2016


RITUAL

กลุ่มภาษาสถาปัตยกรรมที่มีองค์ประกอบหลักสะท้อนถึงวัฒนธรรม ความเชื่อ ศูนย์รวมทางจิตใจของกลุ่มคน ซึ่งมีส่วนสัมผัสได้และไม่ได้ บทบาทของสถาปัตยกรรมจึงลึกซึ้งถึงการเชื่อมรูปแบบความสัมพันธ์ทางนามธรรมกับผู้คนในรูปแบบกายภาพ ด้วยการหยิบยกมูลค่าทางวัฒนธรรม (LEGACY) ของท้องถิ่นทั้งเทคนิค วัตถุ รูปทรง ทําปฏิกิริยากับเวลาและธรรมชาติ (TIME AND NATURE) โดยใช้พื้นที่ซึ่งจํากัดและบีบคั้นความรู้สึกด้วยขนาด (OVERSCALE)ล้อมกรอบภาษาที่ไร้ตัวตนอยู่ในภาวะที่ผู้ใช้อาคารจับต้องได้

  • Jingdezhen Imperial Kiln Museum ออกแบบโดย Studio Zhu Pei ผลงานจากประเทศจีน สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2020

  • Bait Ur Rouf Jame Mosque ออกแบบโดย Marina Tabassum Architects ผลงานจากประเทศบังกลาเทศ สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2012

  • Tubaba Mosque ออกแบบโดย andramatin ผลงานจากประเทศอินโดนีเซีย สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2017

  • 100 Walls Church ออกแบบโดย CAZA ผลงานจากประเทศฟิลิปปินส์ สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2013




bottom of page